• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home 'ซีพีเอฟ' สร้างพื้นที่ต้นแบบปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลอดเผา Zero Burn ไม่รุกที่ป่า
'ซีพีเอฟ' สร้างพื้นที่ต้นแบบปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลอดเผา Zero Burn ไม่รุกที่ป่า

'ซีพีเอฟ' สร้างพื้นที่ต้นแบบปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลอดเผา Zero Burn ไม่รุกที่ป่า

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ ขยายเครือข่ายเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูกาลปลูกปี 2564 ลดการเผาให้เป็นศูนย์ ชูเทศบาลตำบลบัลลังค์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา และ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี นำร่องเป็นชุมชนลดการเผาหลังเก็บเกี่ยวเป็นศูนย์ ตอบเป้าหมายการรับซื้อข้าวโพดยั่งยืนของซีพีเอฟ ยึดตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี พัฒนาห่วงโซ่การผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

นายวรพจน์ สุรัตนวิศิษฏ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรผลิตอาหารสัตว์ให้แก่ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารที่รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการจัดซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มาจากแหล่งผลิตที่มีการปลูกอย่างยั่งยืน ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า 100% (Zero Deforestation) ควบคู่กับการงดการเผาแปลงเกษตรหลังเก็บเกี่ยวให้เป็นศูนย์ (Zero Burn) สำหรับในฤดูกาลปลูกปี 2564 นี้ บริษัทฯ เดินหน้ารณรงค์ถ่ายทอดความรู้เกษตรกรปลูกด้วยวิธีการที่ยกเลิกการเผาตอซัง เปลี่ยนมาใช้ประโยชน์เศษวัสดุทางการเกษตร โดยเลือกกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ต.บัลลังก์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา และพื้นที่ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ในโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เป็นต้นแบบนำร่องปลูกข้าวโพดปลอดเผา (Zero Burn) โดยสมบูรณ์

 

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” มั่นใจในประโยชน์ของการนำหลักวิชาการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการสนับสนุนช่องทางการรับซื้อที่โปร่งใส และเป็นธรรม เป็นแรงจูงใจเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ หันมาใช้วิธีไถกลบตอซังแทนการเผาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

“ปีนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะสนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ ทั้งหมดยกเลิกการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยว ไม่เพียงช่วยรักษาคุณภาพและธาตุอาหารในดินแล้ว ช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ย ยังมีส่วนช่วยสภาพแวดล้อมชุมชนดีขึ้น บรรเทาปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน และร่วมจัดการปัญหาโลกร้อนได้อีกด้วย” นายวรพจน์กล่าว

 

นอกจากระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกข้าวโพดที่บริษัทฯ ใช้ในกระบวนการจัดซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร มาตั้งแต่ปี 2560 บริษัทฯ ยัง ได้ต่อยอดนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดที่มาจากพื้นที่ที่ยังใช้การเผาตอซัง โดยบริษัทฯ จะมีทีมงานลงพื้นที่ให้ความรู้และเพิ่มความตระหนักในการทำการเกษตรแบบยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หยุดเผาเศษวัสดุทางการเกษตรหลังเก็บเกี่ยว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีทั้งสิ่งแวดล้อม เกษตรกร และสังคม

 

การรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาปราศจากบุกรุกพื้นที่ป่า หรือปลูกบนพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และไม่เผาหลังการเก็บเกี่ยว เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ต่อผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อสัตว์ทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ ของซีพีเอฟมาจากต้นทางที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผ่านการดำเนิน โครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” มาตั้งแต่ปี 2558 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายที่ช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตทั้ง ในแง่ปริมาณและคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรขายผลผลิตเข้าโรงงานโดยตรง เพื่อให้เกษตรกรขายผลผลิตได้รับราคาที่เป็นธรรม เป็นอีกกลไกที่จะจูงใจให้เกษตรกรร่วมขจัดปัญหาการทำลายพื้นที่ป่าและปัญหาฝุ่นละอองหมอกควันได้ในระยะยาว