• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ซีพีเอฟ เดินเคียงข้างคู่ค้า - เกษตรกร ยืนแกร่งฝ่าวิกฤต หนุนโตยั่งยืนหลังโควิด
ซีพีเอฟ เดินเคียงข้างคู่ค้า - เกษตรกร ยืนแกร่งฝ่าวิกฤต หนุนโตยั่งยืนหลังโควิด

ซีพีเอฟ เดินเคียงข้างคู่ค้า - เกษตรกร ยืนแกร่งฝ่าวิกฤต หนุนโตยั่งยืนหลังโควิด

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าช่วยเหลือคู่ค้าธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกร ในทุกมิติอย่างเนื่อง เสริมแกร่งให้พันธมิตรทางธุรกิจ ยืนหยัดฝ่าวิกฤตได้อย่างเข้มแข็ง และเติบโตไปด้วยกัน

 

 

นางสาวธิดารัตน์ เดชายนต์บัญชา รองกรรมการผู้จัดการ ด้านการจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ตระหนักถึงพันธกิจของซีพีเอฟในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ประชาชนและสังคม ซึ่งได้รับความร่วมมือที่ดีจากคู่ค้า ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้จัดส่งสินค้า ผู้ใช้สินค้า เกษตรกรมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและเกษตรกรในวงกว้าง บริษัทฯ จึงได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือคู่ค้าผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบ ผู้ประกอบการรักษากิจการให้เดินหน้าต่อได้ และช่วยรักษาการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง

 

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทฯ เข้าไปช่วยคู่ค้าผู้ประกอบการเรื่องการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) ป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ยกระดับมาตรการความปลอดภัยในสถานประกอบการ เพื่อให้การผลิตและขนส่งสินค้าดำเนินต่อไปได้ไม่หยุดชะงัก ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังช่วยเหลือคู่ค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 6 พันราย ผ่านการโครงการ "Faster Payment" ลดระยะเวลาการชำระค่าสินค้าภายใน 30 วันแก่ ซึ่งบริษัทฯ ดำเนินโครงการนี้ติดต่อมาเป็นเวลา 1 ปีแล้วและยังช่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้เอสเอ็มอีสามารถดำเนินกิจการต่อได้ สามารถประคับประคองธุรกิจสามารถฝ่าวิกฤตและปรับตัวรับสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอนได้

 

 

ด้าน นางศุภรา ศรีบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ กล่าวว่า จากมาตรการป้องกันโควิด-19 ของทางภาครัฐได้ทำให้คู่ค้าผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร สูญเสียรายได้ ซึ่งบริษัทฯ ได้นำกลยุทธ์ทางการตลาดแบบดิจิทัล (digital marketing) และการเดลิเวอรี่ มาช่วยให้เพิ่มช่องทางให้ร้านอาหารเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ยังมีรายได้เข้ามาทดแทนการเปิดร้านได้จำกัด รวมทั้งจัดพื้นที่ในห้างโลตัส และหน้าร้านซีพี เฟรชมาร์ท วางจำหน่ายสินค้าแบบ take home โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการปิดร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าอีกด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังร่วมกับผู้ประกอบการร้านอาหารพัฒนาแนวทางใหม่ๆ เช่น การจัดทำคลาวน์คิทเช่น ให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถเพิ่มรายได้แบบยั่งยืนมากขึ้น

 

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังได้ร่วม "ยกระดับแผงลูกค้าในตลาดสด 4.0" เพื่อช่วยผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดสดปรับปรุงแผงค้า ยกระดับมาตรฐานความสะอาด สวยงาม และ ปลอดภัย ตลอดจนมาตรการป้องกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการซื้อสินค้า ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ช่วยพัฒนาแผงค้าของคู่ค้าไปแล้วกว่า 700 แผงในตลาดสดหลายแห่งทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ทีมผู้นำรุ่นใหม่ เถ้าแก่น้อย ร่วมกับหน่วยงาน

 

ภาครัฐ ทำความสะอาดพื้นที่ตลาดสดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในโครงการ “ตลาดปลอดภัย ห่างไกล Covid-19” รวมทั้งสนับสนุนน้ำยาฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ทำความสะอาด และแจกผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยความมั่นใจให้กับพ่อค้าแม่ค้า และผู้ที่มาจับจ่ายในตลาดสดอีกด้วย

 

ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังได้ถ่ายทอดความรู้และมาตรการป้องกันโควิด- 19 แก่เกษตรกรผู้เป็นต้นทางการผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในฟาร์ม เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ปลอดโรค และในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังร่วมสร้างความเชื่อมั่นคนไทยบริโภคกุ้ง รวมทั้งยังได้ช่วยรับซื้อผลผลิตกุ้งของเกษตรกรนำจำหน่ายในช่องทางต่างๆ เพื่อให้กุ้งจากฟาร์มถึงมือผู้บริโภคมากขึ้น ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้เกษตรกรในการผลิตสินค้าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคต่อไป