• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรงวด 6 เดือน 954.8 ล.
ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรงวด 6 เดือน 954.8 ล.

ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรงวด 6 เดือน 954.8 ล.

- กำไรสุทธิ 954.8 ล้านบาท ( -31.1% YoY หรือ 431.1 ล้านบาท)

 

รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 61.6 ล้านบาท (+8.9%YoY) เพิ่มขึ้นจากการเป็นนายหน้าขายประกันและจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้

 

-รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 672.5 ล้านบาท (-11.7% YoY) ลดลงจากรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและธุรกิจเช่าซื้ออันเนื่องมาจากการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อลดลง

 

-ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 579.9 ล้านบาท (-12.3% YoY) จากการบริหารจัดการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น

 

-อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงาน ปรับตัวดีขึ้นเป็น 56.7% จาก 59.5% YoY

 

นายพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 7,284.1 ล้านบาทลดลง 644.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.1 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2563 สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิร้อยละ 11.7 และรายได้อื่นร้อยละ 2.3 สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิร้อยละ 8.9 กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 3,150.8 ล้านบาท ลดลงจำนวน 64.3 ล้านบาทหรือร้อยละ 2.0 เนื่องจากการลดลงของรายได้จากการดำเนินงาน สุทธิกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 12.3 กำไรสุทธิจำนวน 954.8 ล้านบาท ลดลงจำนวน 431.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.1 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันสาเหตุหลักเกิดจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและโอกาสที่คุณภาพสินเชื่อของลูกค้าที่จะแย่ลงจากผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด19

 

 

เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานงวดหกเดือนปี 2564 และ 2563 รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 61.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.9 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการเป็นนายหน้าขายประกันและค่าธรรมเนียมจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ ในขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 672.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.7 เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและธุรกิจเช่าซื้ออันเนื่องมาจากการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อลดลงและรายได้อื่นลดลง 33.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.3 ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน

 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนปี 2564 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2563 ลดลงจำนวน 579.9 ล้านบาทหรือร้อยละ 12.3 สาเหตุหลักมาจากการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นและการลดลงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานงวดหกเดือนปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 56.7 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 59.5

 

อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) สำหรับงวดหกเดือนปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและธุรกิจเช่าซื้อ

 

วันที่ 30 มิถุนายน 2564 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 217.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 242.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.4 จากสิ้นปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 251.4 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารลดลงเป็นร้อยละ 89.6 จากร้อยละ 90.3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563

 

สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 10.6 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของยอดสินเชื่อโดยรวมในขณะที่ยอดสินเชื่อด้อยคุณภาพเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก อย่างไรก็ตามธนาคารยังมีมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลลูกหนี้และการติดตามหนี้

 

อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 อยู่ที่ร้อยละ 101.4 เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 93.3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 9.9 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.8 พันล้านบาท

 

เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีจำนวน 53.4 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 20.6 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.0