• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ทุนธนชาต ไตรมาส 2 กำไร 1,772 ล. โต 71%
ทุนธนชาต ไตรมาส 2 กำไร 1,772 ล. โต 71%

ทุนธนชาต ไตรมาส 2 กำไร 1,772 ล. โต 71%

บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2565 กำไรสุทธิตามงบการเงินรวมจำนวน 2,122 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทฯ จำนวน 1,772 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 71.04% จากไตรมาสก่อน และผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกปี 2565 กำไรสุทธิ ปรับเพิ่มขึ้น 28.51% จากงวดเดียวกันปีก่อน เป็นผลมากจากบริษัทร่วมและบริษัทย่อยมีผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP กล่าวว่า “ในไตรมาส 2 ปี 2565 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมจำนวน 2,122 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทฯ จำนวน 1,772 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.04 จากไตรมาสก่อน ในขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2565 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมจำนวน 3,512 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทฯ จำนวน 2,808 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.51 จากงวดเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากบริษัทร่วมและบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นอยู่มีผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

โดยบริษัทร่วมที่ TCAP เข้าไปลงทุนทั้ง ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) และเอ็มบีเค (MBK) ต่างมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่มีทิศทางดีขึ้น ประกอบกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ สำหรับบริษัทย่อยนั้น ราชธานีลิสซิ่ง (THANI) มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.13 จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการขยายตัวได้เป็นอย่างดีของสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก และการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านธนชาตประกันภัย (TNI) มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.11 จากไตรมาสก่อน และมีเบี้ยประกันภัยรับในช่วงครึ่งปีแรกเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ในส่วนของ เอ็มบีเค ไลฟ์ ประกันชีวิต ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ที ไลฟ์ ประกันชีวิต (T Life) มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.96 จากไตรมาสก่อน ซึ่งเกิดจากการโอนกลับสำรองประกันชีวิตตามวิธี GPV จาก Zero Coupon Yield Curve ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ T Life ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและบริการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง สำหรับ ธนชาตพลัส (T-Plus) มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจและเติบโตขึ้นเป็นลำดับ โดยมียอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 3,600 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีจะมียอดสินเชื่อคงค้างสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 4,000 ล้านบาทได้ ในขณะที่ NPL ยังคงเป็นศูนย์ จากการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม จากภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงทั้งในเชิงปริมาณและความผันผวนของราคา ส่งผลให้ หลักทรัพย์ธนชาต (TNS) มีกำไรสุทธิลดลงร้อยละ 39.20 จากไตรมาสก่อน ถึงแม้ว่ากำไรจะปรับตัวลดลงบ้างตามภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย แต่ TNS มีการเติบโตของรายได้อื่นที่ไม่ใช่รายได้ค่านายหน้าได้เป็นอย่างดี เช่น รายได้ค่าธรรมเนียมการให้บริการเกี่ยวกับแผนจัดสรรการลงทุน (ZEAL) และรายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และยังมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

 

ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ภาวะเศรษฐกิจอาจจะถูกกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ตามราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบ และราคาอาหารที่ปรับสูงขึ้น ตลอดจนการปรับเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากแรงขับเคลื่อนของทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมและบริษัทย่อยสามารถเติบโตได้ต่อไป”