• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ธ.ก.ส. ขยายเวลารับทำประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 64
ธ.ก.ส. ขยายเวลารับทำประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 64

ธ.ก.ส. ขยายเวลารับทำประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 64

ธ.ก.ส. ขยายระยะเวลาเปิดรับทำประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 ไปสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ในพื้นที่ 42 จังหวัด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย และกรณีเป็นลูกค้าที่ใช้สินเชื่อกับ ธ.ก.ส. จะได้รับเงินสมทบค่าเบี้ยประกันภัยฟรี  สามารถซื้อหรือตรวจสอบการทำประกันภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “BAAC INSURE” และที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา

 

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้เปิดโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการสร้างภูมิคุ้มกันและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการผลิต โดยใช้การประกันภัย เป็นเครื่องมือในการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นั้น เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระลอกใหม่ ซึ่งกระจายตัวอย่างรวดเร็ว ธ.ก.ส. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้หารือร่วมกัน และเห็นชอบในการขยายระยะเวลาในการขายกรมธรรม์โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ในกลุ่มที่ 1 พื้นที่ 42 จังหวัด ได้แก่ กําแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อํานาจเจริญ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี ตราด นครนายก สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร

 

 

สำหรับจังหวัดอื่น ๆ ยังคงสิ้นสุดตามระยะเวลาเดิม ได้แก่ กลุ่มที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลําปาง ลําพูน อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น บึงกาฬ มุกดาหาร เลย หนองบัวลําภู และชัยภูมิ  กลุ่มที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ได้แก่ จังหวัดตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และกลุ่มที่ 4 พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา และสตูล

 

กรมธรรม์การประกันภัยข้าวนาปีในส่วนของการประกันภัยขั้นพื้นฐาน (Tier 1) อัตราค่าเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 55 บาทถึง 230 บาทต่อไร่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ความเสี่ยง โดยรัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 58 บาทต่อไร่ และกรณีเป็นเกษตรกรลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อ ธ.ก.ส. ธนาคารจะจ่ายสมทบส่วนที่เหลือให้เต็มจำนวน ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับประกันภัยฟรี โดยให้ความคุ้มครองในกรณีเกิดภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม/ฝนตกหนัก ภัยแล้ง/ฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ/พายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาว/น้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และช้างป่า วงเงินคุ้มครองจำนวน 1,260 บาทต่อไร่ และในกรณีเกิดภัยศัตรูพืช/โรคระบาด วงเงินคุ้มครอง 630 บาทต่อไร่ เป้าหมายการทำประกันภัยบนพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ 46 ล้านไร่ กรณีทำประกันภัยส่วนเพิ่ม (Tier 2) ค่าเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 24 บาทถึง 101 บาทต่อไร่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ความเสี่ยง เมื่อเกิดภัยธรรมชาติจะได้รับวงเงินเพิ่มอีก 240 บาทต่อไร่ รวมเงินประกันภัยที่ได้รับ 1,500 บาทต่อไร่ และกรณีเกิดภัยศัตรูพืช โรคระบาด ได้รับวงเงินคุ้มครองเพิ่ม 120 บาทต่อไร่ รวมเงินประกันภัยที่ได้รับ 750 บาทต่อไร่

 

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อ ธ.ก.ส. และเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงต่ำ จะได้รับสิทธิ์ประกันภัยฟรี ไม่ต้องมาติดต่อธนาคาร โดย ธ.ก.ส. จะดำเนินการให้ทั้งหมด ส่วนเกษตรกรทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงปานกลางและสูง สามารถซื้อประกันภัย ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน “BAAC INSURE” โดยเป็นการซื้อประกันภัยด้วยตนเองผ่านสมาร์ทโฟน ได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติ IOS และ Android หรือขอทำประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ เพียงนำบัตรประชาชนไปติดต่อก็สามารถทำประกันภัยได้ทันที ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center  02 555 0555 หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.baac.or.th