• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home บจ.mai ไตรมาส 1/66 ยอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%
บจ.mai ไตรมาส 1/66 ยอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%

บจ.mai ไตรมาส 1/66 ยอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%

บจ. mai รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1/ 2566 ยอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%

 

บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 มียอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานรวม 3,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก บจ. ควบคุมต้นทุนได้ดี

 

นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียนใน mai จำนวน 198 บริษัท คิดเป็น 96% จากทั้งหมด 206 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และบริษัทที่ปิดงบไม่ตรงงวด) นำส่งผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1/2566 พบ บจ. รายงานกำไรสุทธิจำนวน 142 บริษัท คิดเป็น 72% ของบริษัทที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด

 

ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 ของ บจ. mai เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มียอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% ต้นทุนขาย 40,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% เนื่องจาก บจ. สามารถควบคุมต้นทุนได้ดี ทำให้กำไรจากการดำเนินอยู่ที่ 3,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% และมีกำไรสุทธิรวม 2,153 ล้านบาท ลดลง 32% เนื่องจากในไตรมาส 1/2565 บจ. มีฐานสูงจากการขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 และมี บจ. ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมมีกำไรจากรายการพิเศษมูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท ทั้งนี้ หากตัดรายการพิเศษของทุกบริษัทออก กำไรสุทธิรวมเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 34%

 

“ไตรมาส 1/2566 บจ. ส่วนใหญ่มียอดขายเติบโตตามการฟื้นตัวภายในประเทศภายหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย นอกจากนี้ บจ. ใน mai สามารถควบคุมสัดส่วนต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายได้ดี ทำให้อัตราการทำกำไรของ บจ. เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมี 3 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงเติบโตทั้งยอดขาย กำไรจากการดำเนินงาน และกำไรสุทธิ ได้แก่ กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และกลุ่มเทคโนโลยี” นายประพันธ์กล่าว

 

ในส่วนของฐานะทางการเงิน บจ. mai มีสินทรัพย์รวม 324,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และโครงสร้างเงินทุนรวมดีขึ้น โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) อยู่ที่ 0.78 เท่า ลดลงจากเมื่อสิ้นปี 2565 ที่เท่ากับ 0.82 เท่า

 

ปัจจุบันมี บจ. ใน mai 206 บริษัท (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2566) ดัชนี mai ปิดที่ระดับ 484.95 จุด มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (market capitalization) อยู่ที่ 479,383 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 2,973 ล้านบาทต่อวัน