• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home บจ.ไทย ไตรมาส 1/66 ยอดขาย 4.2 ล้านล. เพิ่มขึ้น 4.6%
บจ.ไทย ไตรมาส 1/66 ยอดขาย 4.2 ล้านล. เพิ่มขึ้น 4.6%

บจ.ไทย ไตรมาส 1/66 ยอดขาย 4.2 ล้านล. เพิ่มขึ้น 4.6%

บริษัทจดทะเบียน (บจ.) รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 โดยมียอดขายเติบโตดี จากการท่องเที่ยวและการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) จำนวน 786 บริษัท คิดเป็น 99.5% จากทั้งหมด 790 บริษัท (รวม SET และ mai ที่มีกำหนดส่งงบการเงิน ณ สิ้นงวด 31 มีนาคม 2566 และไม่รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน) นำส่งผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/2566 พบว่ามี บจ. รายงานกำไรสุทธิ 590 บริษัท คิดเป็น 74.7% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด

 


ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/2566 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน บจ. ใน SET มียอดขาย 4,200,891 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6% มีต้นทุนการผลิต 3,320,652 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% กำไรจากการดำเนินงานหลัก (Core profit) 410,246 ล้านบาท ลดลง 17.3% และมีกำไรสุทธิ 261,116 ล้านบาท ลดลง 6.2% สำหรับฐานะการเงินของกิจการ ณ 31 มีนาคม 2566 บจ. ไทยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ratio (ไม่รวมอุตสาหกรรมการเงิน) อยู่ที่ระดับ 1.52 เท่า ลดลงจาก 1.58 เท่า เมื่อเทียบกับ สิ้นปีก่อน

“การเปิดประเทศทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องส่งผลดีต่อธุรกิจอาหาร การบริการ การขนส่ง การท่องเที่ยว และการโทรคมนาคม ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารและธุรกิจการเงินยังได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การเร่งปรับตัวให้ทันต่อการกลับมาของธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งกว่ายอดขาย ส่วนหนึ่งจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้ บจ. มีอัตรากำไรลดลง” นายแมนพงศ์กล่าว

ด้านผลการดำเนินงานของ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ไตรมาส 1/2566 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มียอดขายรวม 52,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6% ต้นทุนการผลิต 40,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% มีกำไรจากการดำเนินงาน 3,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.3% และมีกำไรสุทธิ 2,153 ล้านบาท ลดลง 32.4%