• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home บลจ.ทิสโก้ โชว์ฝีมือบริหารกองทริกเกอร์ TNDQT5M1 ถึงเป้า 5%
บลจ.ทิสโก้ โชว์ฝีมือบริหารกองทริกเกอร์ TNDQT5M1 ถึงเป้า 5%

บลจ.ทิสโก้ โชว์ฝีมือบริหารกองทริกเกอร์ TNDQT5M1 ถึงเป้า 5%

3 ก.พ. 66 - บลจ.ทิสโก้สุดปลื้มบริหาร กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส แนสแดค ทริกเกอร์ 5M#1 ถึงเป้าหมาย ใน 3 เดือน 12 วัน ถือเป็นกองทุนที่ออกเสนอขายและถึงเป้าหมายก่อนกำหนด แย้มเตรียมออกเพิ่มเพิ่มโอกาสสร้างกำไรให้ลูกค้า



นายสาห์รัช ชัฏสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (Mr. Saharat Chudsuwan Deputy Managing Director of TISCOASSET) เปิดเผยว่า การจับจังหวะลงทุนเป็นอีกหนึ่งความเชี่ยวชาญของ บลจ.ทิสโก้ ที่ช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้ามาโดยตลอด ล่าสุดสามารถบริหารกองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส แนสแดค ทริกเกอร์ 5M#1 (TNDQT5M1) ความเสี่ยงระดับ 6 (ความเสี่ยงสูง) ถึงเป้าหมาย 5% มีมูลค่า NAV เท่ากับ 10.5318 บาท ต่อหน่วยในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 โดยใช้ระยะเวลาบริหารเพียง 3 เดือน 12 วัน นับจากวันที่ 21 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นวันจัดตั้งกองทุน ถือเป็นการบริหารจัดการให้ถึงเป้าหมายก่อนกำหนดที่ 5 เดือน และเป็นทริกเกอร์ฟันด์ลำดับที่ 110 ที่ บลจ.ทิสโก้บริหารให้ถึงเป้าหมาย จากทริกเกอร์ฟันด์หุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศที่ออกโดย บลจ.ทิสโก้จำนวนทั้งหมด 137 กองทุน



“ในช่วงที่ บลจ.ทิสโก้ตัดสินใจเสนอขายกองทุน TNDQT5M1 นั้น เพราะมองว่าดัชนีแนสแดค 100 ได้ปรับลงมาแรงถึง 34% เมื่อเทียบจากจุดสูงสุดในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 และยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 เมื่อปี 2563 และเป็นจังหวะเดียวกับที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัวมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่ปัจจัยบวกของหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ในตลาดหุ้นแนสแดคก็มาตามคาด เช่น ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ครั้งล่าสุดที่ประชุมได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยใกล้จบแล้ว หลังจากนี้จะคงดอกเบี้ย และท้ายสุดมีโอกาสลดดอกเบี้ยปลายปี 2566 ด้านเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอต่อเนื่อง ในขณะที่เศรษฐกิจไม่ได้ชะลอมากเกินไป ถือเป็นการเข้าสู่ภาวะถดถอยแบบ Soft Landing” ซึ่งการที่กองทุน TNDQT5M1 ถึงเป้าหมายก่อนระยะเวลาก็ช่วยตอกย้ำให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในการจับจังหวะลงทุนของบลจ.ทิสโก้ได้เป็นอย่างดี” นายสาห์รัช กล่าว



โดย ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 บลจ.ทิสโก้ออกกองทุนทริกเกอร์ฟันด์มาแล้วทั้งหมด 137 กองทุน (ถึงเป้าหมายในระยะเวลา 79 กองทุน และถึงเป้าหมายนอกระยะเวลาลงทุน 31 กองทุน) มีกองทุนที่อยู่ระหว่างลงทุน 7 กองทุน (ยังไม่ถึงเป้าหมายและเกินกว่ากำหนดเวลาลงทุน 6 กองทุน) และกองทุนไม่ถึงเป้าหมายและเลิกกองทุนแล้ว 20 กองทุน