• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home บอร์ด สคร.มีมตินำข้อตกลงคุณธรรมใช้กับโครงการ PPP
บอร์ด สคร.มีมตินำข้อตกลงคุณธรรมใช้กับโครงการ PPP

บอร์ด สคร.มีมตินำข้อตกลงคุณธรรมใช้กับโครงการ PPP

คณะกรรมการ PPP เห็นชอบแนวทางปฏิบัติการนำข้อตกลงคุณธรรม 
มาใช้กับโครงการ PPP เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับความโปร่งใส
ในการคัดเลือกเอกชน

 

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กรรมการ
และเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผย
ผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2565 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้

 

 

1.คณะกรรมการ PPP เห็นชอบการออกแนวทางปฏิบัติในการนำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) มาใช้กับโครงการ PPP ที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) โดยมุ่งเน้นการกำหนดให้ผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายสำหรับการคัดเลือกเอกชน ในโครงการร่วมลงทุน ซึ่งจะต้องครอบคลุมไม่น้อยกว่า 3 ด้าน รวมถึงกำหนดรายละเอียดและระยะเวลาการดำเนินการ ในแต่ละขั้นตอนที่มีความชัดเจน โดยปัจจุบันมีโครงการ PPP ที่ดำเนินการตามข้อตกลงคุณธรรมตามประกาศ สคร. จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 2) โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก 3) โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 4) โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไปของ กนอ. 


 

และ 5) โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยจะช่วยส่งเสริม ให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการดำเนินโครงการ PPP รวมถึงกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าประสงค์สำคัญของการร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 รวมทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนมากขึ้น

 

 

2.คณะกรรมการ PPP ยังได้พิจารณาการให้โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน - บางบัวทอง ของกรมทางหลวง (ทล.)ดำเนินการในลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เนื่องจากจะเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ รอบกรุงเทพมหานครให้ครบสมบูรณ์ สอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะ 20 ปี (2560 - 2579) และเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชน ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม และ ทล. รับไปดำเนินการตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป