• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home บี.กริม เพาเวอร์ ยกระดับอุตฯพลังงานดิจิทัล หนุนสตาร์ทอัพเชื่อมระบบนิเวศ
บี.กริม เพาเวอร์ ยกระดับอุตฯพลังงานดิจิทัล หนุนสตาร์ทอัพเชื่อมระบบนิเวศ

บี.กริม เพาเวอร์ ยกระดับอุตฯพลังงานดิจิทัล หนุนสตาร์ทอัพเชื่อมระบบนิเวศ

บี.กริม เพาเวอร์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรสู่ผู้นำผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก เดินหน้าสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ร่วมสนับสนุนสตาร์ทอัพค้นหาโซลูชันช่วยอุตสาหกรรมไทยลดการปล่อยคาร์บอน ยกระดับสร้างอุตสาหกรรมพลังงานดิจิทัล พร้อมสร้างระบบนิเวศของพลังงานอย่างยั่งยืน กางแผนก้าวสู่องค์กรปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050

 

นายนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการลงทุน นวัตกรรม และความยั่งยืน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำผลิตไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า บี.กริม เพาเวอร์ ตระหนักดีว่าภาวะโลกร้อนจากการเกิดก๊าซเรือนกระจกกำลังเป็นความเสี่ยงของทุกประเทศทั่วโลก จึงมุ่งสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยบริษัทวางนโยบายที่จะลดการปล่อยคาร์บอน ก้าวสู่องค์กรที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Carbon Emission ในปี 2050 (พ.ศ. 2593) สอดคล้องกับภาพรวมในปัจจุบันของทิศทางพลังงานโลก ที่ต่างมุ่งไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน ร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero) ตามวาระการประชุมระดับโลก COP26

 

 

บี.กริม เพาเวอร์ เดินหน้าสู่เป้าหมายองค์กรปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยจะดำเนินการภายใต้กรอบที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1. มุ่งผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด และการใช้พลังงานทดแทน อาทิ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อสายส่ง (Solar Rooftop) 2. การใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาร่วมบริหารจัดการในการผลิตพลังงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และ 3. มุ่งมั่นลดการผลิตคาร์บอน ด้วยการศึกษาความเป็นได้และมองหานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดคาร์บอน อาทิ Carbon capture and storage และการสร้างโครงข่ายการซื้อขาย Renewable Energy Certificate (REC) และคาร์บอนเครดิตให้สำเร็จเป็นรูปธรรม พร้อมสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อร่วมเป็นพลังในการดูดซับคาร์บอนตลอดจนการร่วมสนับสนุนสตาร์ทอัพเพื่อร่วมยกระดับอุตสาหกรรมพลังงานดิจิทัล และสร้างระบบนิเวศของธุรกิจพลังงานอย่างยั่งยืน

 

นายนพเดช กล่าวต่อว่า ธุรกิจผลิตไฟฟ้าถือว่ามีบทบาทสำคัญในการร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) บี.กริม. เพาเวอร์ จึงมีนโยบายสนับสนุนการสร้างสตาร์ทอัพด้านพลังงาน เพื่อร่วมพลิกโฉมนวัตกรรมพลังงานของประเทศไทยและลดการปล่อยคาร์บอน จึงมีความสนใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” หรือ DTS ร่วมมือกันสร้างสตาร์ทอัพค้นหาโซลูชั่นลดคาร์บอน และผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ให้สำเร็จ ซึ่งภาพรวมของประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความร่วมมือสร้างเครือข่ายต่าง ๆ ในการสร้างนวัตกรรมสำหรับการใช้พลังงานทดแทนในรูปแบบใหม่

 

“ในปีนี้ บี.กริม เพาเวอร์ ได้ดำเนินธุรกิจในไทยครบรอบ 144 ปีแล้ว มีปรัชญาที่ยึดถือมาตลอดคือ การดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี การร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมในรูปแบบ Sustainable Utility Solution Provider ด้วยการผลิตพลังงานที่มีคุณภาพสูงและบริการแบบครบวงจร และการร่วมสร้างธรรมาภิบาล ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทย เติบโตเคียงคู่ไปกับประเทศไทยและภูมิภาค พร้อมเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลกต่อไป” นายนพเดช กล่าวทิ้งท้าย

 

ทั้งนี้ โครงการ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” พื้นที่แห่งโอกาสของสตาร์ทอัพในการเชื่อมต่อและสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเป็นร่วมมือระหว่างบริษัท ทรู ดิจิทัล พาร์ค จำกัดและบริษัท นิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรองค์กรชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (B.Grimm Power Public Company Limited), เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group), บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC Public Company Limited) และบมจ. ปตท. (PTT Public Company Limited) เพื่อร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจพลังงาน ที่จะร่วมค้นหาสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยี โซลูชั่น หรือมีแพลตฟอร์มในการลดปล่อยคาร์บอน เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตลอดจนเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลต่อยอดสู่การสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจใหม่ ที่จะช่วยผลักดันประเทศไทยก้าวสู่ผู้นำในอุตสาหกรรมการลดคาร์บอนของภูมิภาคอาเซียนในระยะต่อไป