• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home ปตท.ติดตามสถานการณ์เมียนมาใกล้ชิดเน้นความต่อเนื่องจัดการก๊าซธรรมชาติ
ปตท.ติดตามสถานการณ์เมียนมาใกล้ชิดเน้นความต่อเนื่องจัดการก๊าซธรรมชาติ

ปตท.ติดตามสถานการณ์เมียนมาใกล้ชิดเน้นความต่อเนื่องจัดการก๊าซธรรมชาติ

ปตท.ติดตามสถานการณ์เมียนมาใกล้ชิดเน้นความต่อเนื่องจัดการก๊าซธรรมชาติ

 

นายอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัท โททาลเอนเนอร์ยี่ส์ อีพี เมียนมาร์ ได้แจ้งถอนตัวจากการเป็นผู้ร่วมทุนและผู้ดำเนินการในโครงการยาดานา โดยจะยังคงเป็นผู้ดำเนินการในโครงการต่อไปอีก 6 เดือน เพื่อรักษาความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น ปตท. และ บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนในโครงการยานาดา ร่วมกับกระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงความมั่นคงด้านพลังงาน และเตรียมการเพื่อความต่อเนื่องในการบริหารก๊าซธรรมชาติ

 

 

อนึ่ง ประเทศไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาตั้งแต่ปี 2541 ในปัจจุบันนำเข้าที่ปริมาณ 965 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยรับก๊าซฯ จากแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาปริมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นประมาณ 10% ของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในประเทศไทย ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ในอุตสาหกรรม และภาคขนส่งในรูปของ NGV เช่นเดียวกับก๊าซฯ จากอ่าวไทย และ LNG