• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home 'พริมา มารีน’ เปิดแผนใหม่สู่ Growth Mode โชว์ผลสำเร็จการลงทุน หนุนโตทุกกลุ่มธุรกิจ
'พริมา มารีน’ เปิดแผนใหม่สู่ Growth Mode โชว์ผลสำเร็จการลงทุน หนุนโตทุกกลุ่มธุรกิจ

'พริมา มารีน’ เปิดแผนใหม่สู่ Growth Mode โชว์ผลสำเร็จการลงทุน หนุนโตทุกกลุ่มธุรกิจ

‘บมจ.พริมา มารีน’ หรือ PRM เปิดกลยุทธ์บริหารจัดการพอร์ตกองเรือ ขับเคลื่อนการเติบโตทุกสภาวะของตลาด ตอกย้ำความเป็นผู้นำอุตสาหกรรม พร้อมประกาศสร้างการเติบโตครั้งใหม่ต่อเนื่องจากความสำเร็จในการเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ซื้อกิจการของ TM โดยล่าสุดเตรียมลงทุนขยายกองเรือเพิ่มเติมอีก 3 ลำ รวมเงินลงทุน 1,896 ล้านบาท รับเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวหลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ย้ำชัด PRM เข้าสู่ Growth Mode ที่พร้อมเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

 

นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานกรรมการ บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) หรือ PRM ผู้ให้บริการขนส่งและจัดเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีเหลวทางเรือรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นับเป็นความท้าทายเชิงบริหารจัดการพอร์ตกองเรือเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดท่ามกลางวิกฤต Covid-19 และความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีความผันผวนเป็นอย่างมาก โดยบริษัทฯ ได้นำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในฐานะที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม พร้อมหลักการบริหารจัดการที่มีความยืดหยุ่นเพื่อบริหารพอร์ตกองเรือที่มีความหลากหลาย ให้สอดคล้องความต้องการของตลาด สร้างการเติบโตอย่างมั่นคง และมีเสถียรภาพพร้อมแสวงหาโอกาสการลงทุนเพื่อเสริมขีดความสามารถในการให้บริการและผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้ จากการเข้าลงทุนซื้อกิจการ บริษัท ทรูธ มาริไทม์ (จำกัด) หรือ TM (เดิมคือ บริษัทไทยออยล์มารีน จำกัด) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มไทยออยล์ เป็นการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของ PRM ซึ่งจะขับเคลื่อนการเติบโตในระยะยาว จากการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับกลุ่มไทยออยล์ ที่ให้บริการเรือขนส่งปิโตรเลียมระหว่างประเทศ ด้วยเรือ VLCC ขนาดบรรทุก 300,000 DWT จำนวน 3 ลำ ภายใต้สัญญาระยะยาว 10 ปี อันจะช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่บริษัทฯ

 

 

ขณะเดียวกัน การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการเพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจ จากการรับเรือขนส่งปิโตรเคมีจำนวน 5 ลำ ที่มีความต้องการใช้บริการเพิ่มขึ้นและเรือขนส่งเพื่อการสำรวจและการผลิตน้ำมันกลางทะเล (เรือ Crew Boat) อีก 13 ลำ เพื่อรองรับกิจกรรมทางทะเลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นการปรับพอร์ตกองเรือที่ทำให้บริษัทฯ สามารถเอาชนะความ ท้าทายและมีความแข็งแกร่งในการบริหารความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศได้ดียิ่งขึ้น

 

ทั้งนี้ บริษัทฯ สามารถขยายฐานลูกค้าจากการให้บริการเรือ Crew Boat ที่ปัจจุบันมีอัตราการใช้บริการเต็ม 100% ด้วยสัญญาระยะยาวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจ Offshore Support เติบโตได้ดี และเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาช่วยสร้างการเติบโตที่ดีต่อจากนี้เป็นต้นไป เช่นเดียวกับกลุ่มธุรกิจเรือขนส่งระหว่างประเทศ ที่บริษัทฯ ได้ให้บริการเรือ VLCC แก่กลุ่มไทยออยล์จำนวน 3 ลำ เป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจะเข้ามาสนับสนุนความมั่นคงของรายได้ในระยะยาวด้วยเช่นกัน

 

“การเข้าซื้อ TM ถือเป็นการลงทุนครั้งสำคัญที่จะสร้างประโยชน์แก่การดำเนินธุรกิจของเราให้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วง Post-Covid และผลักดันบริษัทฯ ให้เข้าสู่ Growth Mode รอบใหม่ ด้วยผลการดำเนินที่เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายบวร กล่าว

 

 

นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จะมุ่งรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ด้วยจุดแข็งด้านพอร์ตกองเรือที่มีความหลากหลาย พร้อมขยายการลงทุนที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโต โดยการลงทุนเข้าซื้อ TM ที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ สามารถผลักดันกลุ่มธุรกิจเรือขนส่งระหว่างประเทศและกลุ่มธุรกิจเรือ Offshore Support ให้สร้างรายได้เพิ่มขึ้น และสนับสนุนภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างแข็งแกร่ง ขณะเดียวกัน การบริหารพอร์ตกองเรือถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ ในทุกสภาวะตลาด เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด ควบคู่กับการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ

 

 

โดยบริษัทฯ วางแผนการลงทุนครั้งใหม่โดยขยายพอร์ตกองเรือจำนวน 3 ลำ ภายใต้งบลงทุน 1,896 ล้านบาท ประกอบด้วย เรือขนส่งปิโตรเลียมภายในประเทศจำนวน 1 ลำ เรือขนส่งปิโตรเคมี จำนวน 1 ลำ และเรือขนส่งและจัดเก็บปิโตรเลียมลอยน้ำ (FSU) เพิ่มอีก 1 ลำ เนื่องจากบริษัทฯ ยังเล็งเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจในกลุ่มธุรกิจเรือขนส่งในประเทศเพื่อรองรับปริมาณการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากที่สถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายลง ในขณะที่การลงทุนเพิ่มเติมในเรือขนส่งปิโตรเคมีมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นทั้งในและต่างประเทศที่มุ่งเน้นไปยังการผลิตปิโตรเคมีมากขึ้น และการขยายกองเรือ FSU เพื่อรองรับอุปสงค์ในการกักเก็บและผสมน้ำมันที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น จากสภาวะเศรษฐกิจที่มีกิจกรรมมากขึ้นภายหลังการคลี่คลายของสถานการณ์ Covid-19 โดยการลงทุนดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทฯ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะเริ่มรับรู้รายได้ทันทีหลังจากที่สามารถจัดหาเรือแล้วเสร็จ เนื่องจากเรือทั้ง 3 ลำมีลูกค้าที่รอใช้บริการอยู่แล้ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย

 

“PRM ได้เข้าสู่ Growth Mode ตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปีนี้เป็นต้นไป เป็นผลจากการเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการใช้เรือที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการเตรียมส่งมอบเรือ VLCC ลำที่ 3 เพื่อให้บริการแก่ไทยออยล์ในช่วงไตรมาส 3 นี้ และเรือที่ลงทุนเพิ่มเติมอีก 3 ลำที่เตรียมจะเข้ามาให้บริการเพิ่มเติมอีกด้วย” นายชายน้อย กล่าว

 

นายวิริทธิ์พล จุไรสินธุ์ ผู้อำนวยการสายงานการเงินและบัญชี กล่าวว่า เป้าหมายรายได้ในปีนี้ บริษัทยังคงเป้าเติบโต 10% จากปีก่อน โดยมั่นใจผลประกอบการครึ่งปีหลังจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถรับรู้รายได้จากเรือใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น จากเรือขนส่งปิโตรเลียมระหว่างประเทศ (VLCC) ลำที่ 2 เริ่มให้บริการเดือน มิ.ย. 2565 เรือ AWB ลำที่ 2 เริ่มให้บริการวันที่ 16 มิ.ย. 2565 เรือ VLCC ลำที่ 3 เริ่มให้บริการวันที่ 9 ก.ย. 2565 อีกทั้งการใช้เรือผลิตน้ำมันกลางทะเล (Crew Boat) 13 ลำ 100% จากเดิม 83% นอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 3/65 บริษัทเตรียมบันทึกกำไรสุทธิเข้ามาเพิ่มเติมจากการขาย VLCC 1 ลำ มูลค่าพันล้านบาท โดยไตรมาส 2 บริษัทมีกองเรือทั้งหมด 59 ลำ