• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home 'ราช กรุ๊ป'รุกลงทุนโรงไฟฟ้าลมต่างประเทศ ดันเป้า 2,500 MW
'ราช กรุ๊ป'รุกลงทุนโรงไฟฟ้าลมต่างประเทศ ดันเป้า 2,500 MW

'ราช กรุ๊ป'รุกลงทุนโรงไฟฟ้าลมต่างประเทศ ดันเป้า 2,500 MW

เดินหน้าขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในต่างประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมาย 2,500 เมกะวัตต์ ในปี 2568 และการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี 2568

 

นนทบุรี – บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เดินหน้าขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในต่างประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมาย 2,500 เมกะวัตต์ ในปี 2568 ที่กำหนดไว้ในแผนธุรกิจ ล่าสุดบริษัทฯ ได้ประกาศลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมเน็กส์ซิฟ เบนเตร กำลังผลิตติดตั้ง 80 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และเมื่อเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าพลังงานลมยานดิน กำลังผลิต 214.2 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมคอลเล็กเตอร์ กำลังการผลิต 226.8 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในรัฐเวสต์เทิร์นออสเตรเลีย และรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ตามลำดับ ได้เดินเครื่องจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ จนถึงปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามสัดส่วนลงทุนอยู่ที่ 1,100.32 เมกะวัตต์ (ไม่รวมกำลังผลิตจากการลงทุนในหุ้น EDL-GEN) คิดเป็นความก้าวหน้าร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับเป้าหมาย 2,500 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตรวมดังกล่าวสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 2,072,553 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

 

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของบริษัทฯ ได้กำหนดสัดส่วนกำลังผลิตจากพลังงานทดแทนไว้ร้อยละ 25 จากเป้าหมายรวม 10,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้มีการศึกษาความเหมาะสมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่มีศักยภาพในต่างประเทศที่มีเป้าหมายและแผนส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจังหลายแห่ง ล่าสุด บริษัทฯ ได้เข้าลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อเข้าถือหุ้นร้อยละ 50 ในบริษัท Nexif Energy BT Pte. Ltd. มูลค่า 272.58 ล้านบาท บริษัทดังกล่าวถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทย่อย Nexif Energy Ben Tre One Member Co., Ltd. ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมเน็กส์ซิฟ เบนเตร กำลังผลิตติดตั้ง 80 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในเวียดนาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการและเจรจาสัญญาหลัก หากแล้วเสร็จจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 18 เดือน และสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2565 โดยมีการไฟฟ้าเวียดนาม (Vietnam Electricity: EVN) เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี

 

“โครงการพลังงานลมเน็กส์ซิฟ เบนเตร เป็นโครงการแห่งที่ 2 ในเวียดนามต่อจากโครงการพลังงานลมทานฟงในเวียดนาม (Ecowin) ทั้งนี้ เวียดนามมีแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติที่รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคม โดยได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาแหล่งพลังงานจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ อีกทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศด้วย ซึ่งบริษัทฯ พิจารณาเห็นศักยภาพการลงทุนและเชื่อมั่นว่าเวียดนามจะเป็นฐานธุรกิจสำคัญของบริษัทฯ ในอนาคตด้วย สำหรับเงินลงทุนในโครงการเน็กส์ซิฟ เบนเตร บริษัทฯ ใช้เงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือหุ้นกู้สีเขียวที่ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 บริษัทฯ ตั้งใจที่จะพัฒนากำลังผลิตจากพลังงานทดแทนให้สำเร็จตามเป้าหมาย 2,500 เมกะวัตต์ในปี 2568 เพราะจะส่งผลต่อความสำเร็จของเป้าหมายการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานทดแทนของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2568” นายกิจจา กล่าว

 

นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงการพลังงานลมเป็นลำดับ โดยโครงการในออสเตรเลียมีการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว 2 แห่ง ได้แก่ โครงการพลังงานลมคอลเลกเตอร์ (บริษัทฯ ถือหุ้นทั้งหมด) กำลังการผลิต 226.8 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลมยานดิน กำลังผลิต 214.2 เมกะวัตต์ (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 70) และโรงไฟฟ้าพลังงานลมทานฟง ในเวียดนาม กำลังการผลิต 29.7 เมกะวัตต์ (บริษัทฯ ถือหุ้น ร้อยละ 51) อยู่ระหว่างการก่อสร้างและกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2564

 

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการลงทุนโครงการพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย สปป. ลาว ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยมีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 1,100.32 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย พลังงานลม 719.74 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ 72.48 เมกะวัตต์ พลังงานน้ำ 304.14 เมกะวัตต์ (ไม่รวมกำลังผลิตจากการลงทุนในหุ้น EDL-GEN) และพลังงานชีวมวล 3.96 เมกะวัตต์