• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home สทนช.เร่งทำข้อมูลใช้น้ำ เพิ่มเครื่องมือจัดการน้ำท่วม-แล้งยั่งยืน ใช้กลางปี 65
สทนช.เร่งทำข้อมูลใช้น้ำ เพิ่มเครื่องมือจัดการน้ำท่วม-แล้งยั่งยืน ใช้กลางปี 65

สทนช.เร่งทำข้อมูลใช้น้ำ เพิ่มเครื่องมือจัดการน้ำท่วม-แล้งยั่งยืน ใช้กลางปี 65

สทนช.เดินหน้าจัดทำข้อมูลผลิตภาพการใช้น้ำและพัฒนาระบบประเมินความเสียหายด้านน้ำ ภายใต้แผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ หวังใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์วางแผนบริหารจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้งในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรน้ำ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

 

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงที่มาของการดำเนินการโครงการจัดทำข้อมูลผลิตภาพการใช้น้ำ ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561–2580) และโครงการปรับปรุงระบบประเมินและเชื่อมโยงผลการดำเนินงาน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ว่า ภายหลังจากที่แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561–2580) ได้ถูกประกาศใช้ในปี 2562 และได้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทในแต่ละด้านตลอดจนมีเก็บรายงานตัวชี้วัดตามแผนแม่บทดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมาพบว่าการรายงานตัวชี้วัดในประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ที่เชื่อมโยงไปยังยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยังขาดความชัดเจนในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและมีความยุ่งยากในการจัดทำข้อมูล ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในคราวเดียว ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการเดินหน้าโครงการศึกษาทั้ง 2 โครงการ ซึ่งได้เริ่มโครงการไปแล้วเมื่อช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ด้วยข้อกำหนดและข้อจำกัดภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้โครงการสามารถขับเคลื่อนได้ตามแผนที่วางไว้และดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด โดยเฉพาะการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม ที่ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกกิจกรรมการใช้น้ำ และการประสานทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ในการขอข้อมูลและข้อคิดเห็นที่มีรายละเอียดลงลึกในบริบทของพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ได้อย่างตรงจุด อีกทั้งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้เปรียบเทียบผลิตภาพการใช้น้ำทั้งระบบ นำไปสู่การปรับโครงสร้างการใช้น้ำที่เหมาะสม สามารถตอบรายงานตัวชี้วัดตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯน้ำภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการดำเนินการศึกษา

 

 

ทั้งนี้ โครงการจัดทำข้อมูลผลิตภาพการใช้น้ำ ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศึกษารวบรวมและจัดทำแนวทางการวิเคราะห์ผลิตภาพการใช้น้ำของ 3 ส่วน ได้แก่ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ (รวมน้ำอุปโภคบริโภค) ในปัจจุบันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินผลิตภาพการใช้น้ำในระดับประเทศ จังหวัด และลุ่มน้ำ รวมทั้งนำผลการวิเคราะห์ผลิตภาพการใช้น้ำในระดับจังหวัดและลุ่มน้ำ ไปสู่ข้อเสนอแนะที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพการใช้น้ำ เพื่อประเมินและวางแผนการเพิ่มผลิตภาพการใช้น้ำในปีต่อๆ ไป ส่วนโครงการปรับปรุงระบบประเมินและเชื่อมโยงผลการดำเนินงาน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 22 ลุ่มน้ำของประเทศ โดยทบทวนรูปแบบ การคิดวิเคราะห์ และการประเมินความเสียหายจากการเกิดอุทกภัย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตร ย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปี เพื่อพัฒนาระบบประเมินความเสียหายจากอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำ พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศสำหรับนำเข้าข้อมูล และจัดทำคู่มือในการประเมินความเสียหายจากอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำ เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศด้านจัดการอุทกภัยและภัยแล้งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ

 

“การศึกษาครั้งนี้ จะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565 โดยผลจากการศึกษาจะสะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงต่อกิจกรรมการใช้น้ำด้านต่างๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับลุ่มน้ำ ที่เชื่อมโยงไปสู่ระดับประเทศ เพื่อให้ได้ระบบข้อมูลพื้นฐานที่มีความชัดเจนรอบด้านและเป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์และประกอบการตัดสินใจในการวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อประเมินความเสียหายจากอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายด้านน้ำที่อาจเกิดขึ้น และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรน้ำ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต อีกทั้ง หน่วยงานปฏิบัติยังสามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงประกอบการวางแผนงาน/โครงการด้านน้ำที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย เพื่อเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย