• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home สวนดุสิตโพล เผยประชาชน 97% เทใจหนุน ‘แอปเรียกรถ’
สวนดุสิตโพล เผยประชาชน 97% เทใจหนุน ‘แอปเรียกรถ’

สวนดุสิตโพล เผยประชาชน 97% เทใจหนุน ‘แอปเรียกรถ’

สวนดุสิตโพล เผยประชาชน 97% เทใจหนุน ‘แอปเรียกรถ’ เชื่อมั่นคมนาคมดัน ก.ม. ผ่าน มิ.ย. 64

 

จากที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้นำรถยนต์ส่วนบุคคลมาขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นรถสาธารณะให้บริการผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชันได้อย่างถูกกฎหมายภายในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สร้างรายได้และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปและผู้ใช้บริการรถสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 567 คน (สำรวจทางภาคสนามและออนไลน์) ระหว่างวันที่ 29 เม.ย.- 3 พ.ค. 2564 สรุปผลได้ ดังนี้ (ตาราง)

 

 

สวนดุสิตโพล สรุปผลการสำรวจ เผยประชาชน 97% เทใจหนุน ‘แอปเรียกรถ’ เชื่อมั่นคมนาคมดัน ก.ม. ผ่าน มิ.ย. 64

 

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไร กับการทำให้แอปพลิเคชันรถยนต์รับส่งสาธารณะถูกกฎหมาย” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 567 คน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สำรวจระหว่างวันที่ 29 เม.ย.- 3 พ.ค. 2564 พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่เคยใช้บริการแอปเรียกรถ 85.71% และเป็นผู้ที่ไม่เคยใช้ 14.29%

 

ภาพรวมร้อยละ 97.00 เห็นด้วยกับการที่กระทรวงคมนาคมกำลังผลักดันให้บริการแอปเรียกรถถูกกฎหมายให้ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ โดยไม่เห็นด้วยเพียงร้อยละ 3.00

 

นอกจากนี้ยังเห็นด้วยหากมีการติดสัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกว่ารถคันนี้เข้าร่วมบริการ ร้อยละ 89.95 เห็นด้วยหากมีการกำหนดราคาอย่างเหมาะสมกับขนาดหรือประเภทของรถ ร้อยละ 86.77 เห็นด้วยกับกรณีรถยนต์ส่วนบุคคลต้องให้บริการผ่านแอปฯเท่านั้น ร้อยละ 80.07 ยินดีจ่ายในราคาที่สูงขึ้นเพื่อคุณภาพที่ดีกว่า ร้อยละ 77.60 และเห็นด้วยหากขยายอายุการใช้งานของรถส่วนตัวที่จะให้บริการผ่านแอปฯได้ถึง 12 ปี ร้อยละ 67.72

 

สำหรับ 5 ปัจจัยแรกที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในการเลือกใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ คือ ความสะดวกสบาย ร้อยละ 62.08 รองลงมาคือ มีความโปร่งใสในการแสดงราคา ร้อยละ 60.85 ไม่ถูกปฏิเสธ/ไปส่งทุกที่ ร้อยละ 58.55 มีมาตรฐานความปลอดภัย ร้อยละ 57.50 และมีการนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยดำเนินการ ร้อยละ 52.73

 

“การสำรวจในเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากแอปเรียกรถเป็นบริการที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ธุรกิจบริการแอปเรียกรถในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 ธุรกิจดังกล่าวมีมูลค่ารวมสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะเติบโตสูงขึ้นถึง 5.7 แสนล้านบาทภายในปี 2568 (อ้างอิงรายงานวิจัยของ e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company) สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ให้บริการดังกล่าวหลายราย ไม่ว่าจะเป็น แกร็บ (Grab) โบลท์ (Bolt) ไลน์แมน แท็กซี่ (LINE MAN Taxi) โกเจ็ก (Gojek) ทรูไรด์ (True Ryde) และ บอนกุ (Bonku) ซึ่งหากการผลักดันของกระทรวงคมนาคมในครั้งนี้เป็นผลสำเร็จก็จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่แอปเรียกรถสามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมาย เช่นเดียวกันกับ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม” นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต