• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home อลิอันซ์ อยุธยา เดินหน้าต่อมาตรการช่วยเหลือลูกค้าช่วงโควิด
อลิอันซ์ อยุธยา เดินหน้าต่อมาตรการช่วยเหลือลูกค้าช่วงโควิด

อลิอันซ์ อยุธยา เดินหน้าต่อมาตรการช่วยเหลือลูกค้าช่วงโควิด

อลิอันซ์ อยุธยา ยืนหนึ่งดูแลลูกค้าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ประกาศเดินหน้าต่อมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ครอบคลุมการคุ้มครองการแพ้วัคซีน และลดระยะเวลารอคอยการให้บริการสำหรับลูกค้าใหม่ พร้อมเปิดตัวเลขจ่ายประกันสุขภาพการรักษาพยาบาลและเสียชีวิตจากเชื้อโควิด-19 ไปแล้วกว่า 17,700 เคส ยอดเคลมกว่า 900 ล้านบาท

 

นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารงานลูกค้า บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงอยู่และยังมีความไม่แน่นอนว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อลิอันซ์ อยุธยา พร้อมที่จะเดินหน้าดูแลลูกค้า คุ้มครองการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ทั้งในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (hospitel) ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ และการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว เราจึงขยายมาตรการช่วยเหลือพิเศษเพื่อให้ครอบคลุมกับความต้องการของลูกค้าดังนี้

 

ให้ความคุ้มครองกรณีมีอาการแพ้จากการฉีดวัคซีน สำหรับลูกค้าที่มีสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ ภายหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ไม่เกิน 60 วัน โดยมีอาการแพ้ หรือ ได้รับผลกระทบข้างเคียง และมีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือคลินิก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค.65 และเป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย เท่านั้น

 

ลดระยะเวลารอคอยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองเร็วขึ้น กรณีที่ลูกค้ามีการซื้อสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพฉบับใหม่ โดย ลดระยะเวลารอคอยการเข้ารับการรักษาด้วยโรคโควิด-19 จาก 30 วันเป็น 14 วัน และสามารถใช้บริการเคลมแบบที่ลูกค้าไม่ต้องสำรองจ่ายออกไปก่อน (แฟกซ์เคลม) จากเดิม ที่จะใช้สิทธิ์ได้ต้องรอ 90 วัน ลดเหลือเพียง 30 วันก็สามารถเคลมแบบไม่ต้องสำรองจ่ายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของรพ.คู่สัญญา และ เงื่อนไขกรมธรรม์ด้วย

 

สำหรับสถานการณ์การเคลมด้วยโรคโควิด-19 นี้ ตั้งแต่ต้นปี 2564 จนถึงปัจจุบัน บริษัทได้จ่ายเคลมรวมไปแล้วกว่า 17,700 เคส เป็นเงินรวมกว่า 900 ล้านบาท โดยประมาณ 16,200 เคส เป็นค่ารักษาพยาบาลการเจ็บป่วยจากโควิด-19 และประมาณ 1,200 เคส เป็นการชดเชยจากการแพ้วัคซีน และ ประมาณ 300 เคส มาจากการเสียชีวิต

 

“ไม่ว่าสถานการณ์จะไม่แน่นอนเพียงใด อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จะอยู่เคียงข้างลูกค้า พร้อมที่จะให้ความคุ้มครองตามคำมั่นสัญญาของเราเพื่อคุ้มครองลูกค้าทุกเงื่อนไขชีวิต” นางสาวพัชรา กล่าวทิ้งท้าย