• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home เคหะสุขประชา ร่วมมือ ม.สงขลานครินทร์ ศึกษาสร้างเศรษฐกิจชุมชนรักษ์โลก
เคหะสุขประชา ร่วมมือ ม.สงขลานครินทร์ ศึกษาสร้างเศรษฐกิจชุมชนรักษ์โลก

เคหะสุขประชา ร่วมมือ ม.สงขลานครินทร์ ศึกษาสร้างเศรษฐกิจชุมชนรักษ์โลก

มุ่งสร้างการจัดการชุมชนและเศรษฐกิจ บนพื้นฐานการรักษ์โลก

 

เคหะสุขประชา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” หรือ ม.อ. ใน “โครงการศึกษาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม” ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการลงทุนและบริหารจัดการด้านอสังหาริมทรัพย์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และการบริหารทรัพย์สินรอการพัฒนา ให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมนำองค์ความรู้ ความเป็นมืออาชีพ และนวัตกรรมจาก ม.อ. มาใช้อย่างครอบคลุม ต่อยอดให้เกิดชุมชนในพื้นที่เกิดความรู้ที่หลากหลายและเกิดการพัฒนาบนพื้นฐานการรักษ์โลก

 

 

นายพิษณุพร อุทกภาชน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) เผยว่า เคหะสุขประชา ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเดินแผนพัฒนาธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และต่อยอดไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพกับเศรษฐกิจในชุมชน โดยทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมมือกันผ่าน “โครงการศึกษาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม” เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งประกอบไปด้วยการร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงศึกษาด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการลงทุนและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

 

“การศึกษาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม คือขั้นตอนในการวางแผนใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ โดยคำนึงถึงการดำเนินงานที่ไม่กระทบต่อระบบนิเวศโดยรอบ เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด นั่นจึงทำให้การร่วมมือนี้เป็นส่วนสำคัญกับโครงการที่เคหะสุขประชาได้พัฒนาขึ้น ทั้งกับธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ส่วนบ้านเคหะสุขประชา แผนงานพัฒนาและบริหารชุมชน พื้นที่พัฒนาด้านอาชีพอย่างโครงการเศรษฐกิจสุขประชา รวมถึงงานบริหารทรัพย์สินรอการพัฒนา Sunk Cost โดยมีการนำเอาองค์ความรู้ ความเป็นมืออาชีพ และนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาใช้อย่างครอบคลุม”

 

 

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ม.อ. มีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อนวัตกรรมและสังคมที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อให้เตรียมพร้อมรองรับ Disruptive Technology ที่กำลังเกิดขึ้น โดย ม.อ. ยังได้มีการขยายบริการไปสู่ระดับภูมิภาคในอาเซียนโดยพัฒนาธุรกิจจากความเชี่ยวชาญเดิม เพื่อให้ผู้รับบริการได้เข้าถึงความรู้หลากหลายรูปแบบและได้รับความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย เข้าถึงง่าย รวมถึงเกิดการพัฒนาบนพื้นฐานการรักษ์โลก

 

 

“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะศึกษาความเป็นไปได้ด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกตลอดการดำเนินโครงการในพื้นที่ของเคหะสุขประชา การร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยสร้างประโยชน์ทางวิชาการโดยเฉพาะกับผู้คนในชุมชน โดยปลูกฝังความรู้ด้านการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณค่า เพื่อผลดีต่อสังคมส่วนรวม และช่วยให้ชุมชนเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งตรงกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและหลักเศรษฐกิจพอเพียง”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวและข่าวสารเพิ่มเติมของ เคหะสุขประชา ได้ที่ www.kha.co.th หรือ www.facebook.com/KHA.Sukpracha