• SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2024 ในรูป %YOY มีแนวโน้มหดตัวแรงจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2024 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9%  *** ด้าน Krungthai COMPASS เผยส่งออกเดือน ก.พ. ขยายตัว 3.6%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แต่ชะลอลงจาก 10.0%YoY เมื่อเดือนก่อน ประเมินว่าการส่งออกยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการส่งออกในปี 2567 ให้ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.8% โดยการส่งออกไม่รวมทองคำเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.2% จากสินค้าสำคัญหลายรายการที่ยังหดตัวต่อเนื่อง เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศสำคัญมีความไม่นอนสูงโดยเฉพาะยุโรป และญี่ปุ่น
Home เมืองไทยประกันชีวิต ขยายระยะเวลาบริการ Telemedicine ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
เมืองไทยประกันชีวิต ขยายระยะเวลาบริการ Telemedicine ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

เมืองไทยประกันชีวิต ขยายระยะเวลาบริการ Telemedicine ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกโรงพยาบาลคู่สัญญา 38 แห่ง ขยายระยะเวลาให้บริการ Telemedicine ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการตอกย้ำการดำเนินงานภายใต้นโยบาย “MTL NEXT TO YOU” ที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้านอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อก้าวเคียงคู่ดูแลทุกช่วงของชีวิต ส่งมอบความสุขและรอยยิ้มแก่ลูกค้าในทุกกลุ่ม และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังมีการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ เมืองไทยประกันชีวิต ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 38 แห่ง “ให้บริการพบแพทย์และได้รับยาตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ ผ่านทางโทรเวชกรรม (Telemedicine)” อย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้เอาประกันภัยมีโรคเรื้อรังและมีนัดตรวจติดตามการรักษา เพื่อเป็นการมอบความอุ่นใจ การอำนวยความสะดวก และการลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกจากบ้านให้กับผู้เอาประกันภัย พร้อมได้ทำการขยายระยะเวลาให้บริการดังกล่าวไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

 

ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีความประสงค์ใช้บริการ Telemedicine นี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยเดิมที่มีประวัติการรักษาในโรงพยาบาลที่ให้บริการตามที่กำหนด โดยเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องมีการติดตามและต้องได้รับยาต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยบริการดังกล่าวจะครอบคลุมการพบแพทย์ และการสั่งยา ทั้งนี้สามารถใช้บริการได้ทั้งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่มีผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต และโรงพยาบาล กำหนด)

 

สำหรับบริการ Telemedicine Samitivej Virtual Hospital ยังคงให้บริการตามเงื่อนไขปกติ ครอบคลุมทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและการเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไข้เดิมของทางโรงพยาบาล ครอบคลุมทั้งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลและรายกลุ่ม (เงื่อนไขความคุ้มครองระบุในกรมธรรม์ และเงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาล กำหนด)

 

 

โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.muangthai.co.th หรือติดต่อเมืองไทยประกันชีวิต โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้าร่วมโครงการได้โดยตรง